แซมเปิ้ลพีทดอทคอม

���������������������������������������

คำว่า“มันดาลา”มาจากภาษาสันสกฤต มันดา (manda)”แปลเป็นภาษาทิเบตตรงกับคำว่า dkyil” ซึ่งหมายถึง “แก่นศูนย์กลางหรือที่นั่ง” โดยใช้ในความหมายควบคู่ไปกับคำว่า โพธิหรือการตื่น การบรรลุธรรม ซึ่งชี้ถึงสถานที่นั่งภายใต้ต้นโพธิ์ ที่ซึ่งการตรัสรู้อย่างสมบูรณ์ได้เกิดขึ้น ส่วนคำว่าลา(la)หมายถึงวงล้อที่หลอมรวมแก่นดังนั้น มันดาลาจึงแปลว่า “ที่ประทับของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ต่างๆในขณะที่รู้แจ้ง และภาพเหล่านี้จะปรากฏในมโนทัศน์ของวัชราจารย์(ครูบาอาจารย์ในพุทธศาสนานิกายวัชรยาน) สำหรับคนไทยเราเรียกคำว่ามันดาลาเป็นสำเนียงไทยว่ามณฑลนั่นเอง ซึ่งก็มีความหมายสอดคล้องกัน  ในทางคัมภีร์แล้ว ทิเบตถือว่าทุกชีวิตก็คือมันดาลา มากกว่าจะเป็นเพียงแค่จุดของการตระหนักรู้ เพราะเราก็คือสิ่งแวดล้อมของเราเอง อาจกล่าวได้ว่า มันดาลาก็เปรียบเหมือนกับพิมพ์เขียวสำหรับการบรรลุธรรม ที่ไม่ใช่เพียงแต่เป็นการปลดปล่อยตนเองสู่อิสรภาพที่แท้จริงเท่านั้น แต่ยังเป็นการหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับสภาวะแวดล้อมโดยทั่วไปมันดาลามักจะสร้างเป็นวิหารที่มีประตู 4 ทิศ ซึ่งแต่ละทิศจะแสดงถึงพรหมวิหารทั้ง 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา และก่อนที่ผู้ปฏิบัติธรรมจะเดินเข้าประตูได้นั้นจะต้องผ่านด่านทดสอบคือกำแพง 4 ชั้น ซึ่งประกอบไปดัวย
 1.กำแพงไฟแห่งความรู้อันบริสุทธิ์

2.กำแพงเพชรแสดงความแข็งแกร่งและกล้าหาญ

3.กำแพงหลุมศพแห่งการมีสติรู้

4.กำแพงดอกบัวแสดงถึงการยอมอุทิศตนต่อพุทธะ

มันดาลาสามารถสร้างได้จากกระดาษ ผ้า หรือทรายก็ได้ โดยมักเริ่มจากโครงประกอบด้วยรูปทรงเรขาคณิตแบบง่ายๆ แล้วจึงค่อยเพิ่มรายละเอียดภายในตามแต่จินตนาการหรือภาพนิมิตที่เห็น ดังนั้นการสร้างแต่ละครั้งสิ่งที่สำคัญคือ จิตใจที่มีสมาธิจดจ่อในสิ่งที่กำลังสร้างพระลามะส่วนใหญ่รู้วิธีการสร้างมันดาลา เพื่อใช้ในการประกอบพีธีต่างๆ ซึ่งมักสร้างโดยการโรยทรายผสมสี มันดาลาบางรูปใช้เวลาสร้างเป็นเดือน ดังนั้น โดยพื้นฐานแล้วการสร้างมันดาลาเป็นการฝึกฝนจิตอย่างหนึ่ง มโนจิตและสมาธิต้องดำเนินไปด้วยกัน การสร้างมันดาลาไม่มีการร่างโครงร่างก่อน ไม่ว่ารูปมันดาลานั้นจะใหญ่หรือเล็กขนาดไหน ดังนั้นมโนจิตในมันดาลานั้นต้องเที่ยงตรง สมาธิต้องมั่นคง บางครั้งพระบางรูปจะท่องมนตราและแผ่เมตตาในขณะที่สร้างด้วยส่วนปริศนาธรรมที่แฝงมาในมันดาลานั้นก็คือ ไม่ว่าจะสมบูรณ์สวยงามหรือมั่นคงเพียงใด สุดท้ายก็ต้องสูญสลายไปตามธรรมชาติ และก็เช่นกันเมื่อสูญสลายไปแล้ว ก็จะต้องถูกสร้างขึ้นมาอีก เพราะความมีอยู่ทำให้เกิดความว่าง และความว่างก็เป็นบ่อเกิดของความมีอยู่ ฉันลองกลับไปคิดถึงฉากในหนังที่กล่าวข้างต้นแล้ว ก็เริ่มที่จะเข้าใจถึงปรัชญาลึกซึ้งที่แฝงอยู่นอกจากนี้ ชาวธิเบตเองยังมีความเชื่อว่ามันดาลาสร้างโดยพระผู้มีปัญญาอันบริสุทธิ์ เนื่องจากในขณะที่สร้างพระสงฆ์ได้อัญเชิญพลังศักดิ์สิทธิ์มาสถิตในมันดาลาซึ่งจะเป็นสิริมงคลให้กับผู้ที่ได้มาเยี่ยมชมมันดาลา อีกทั้งยังช่วยคุ้มครองปกป้องสถานที่ซึ่งมันดาลานั้นตั้งอยู่อีกด้วย  ปัจจุบันได้มีการประยุกต์เรื่องมันดาลามาใช้ในการบำบัดรักษาโรคทางจิต โดยให้ผู้รับการบำบัดวาดภาพมันดาลา ซึ่งเป็นการแสดงออกทางอารมณ์และจิตใต้สำนึกของตัวตนภายใน ทำให้นักจิตแพทย์สามารถเข้าใจถึงปมปัญหาของคนไข้ได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังใช้ในการเสริมสร้างสมาธิและจินตนาการให้กับเด็ก ประกอบกับมีการนำเพลงมาเปิดประกอบในการพิจารณามันดาลาอีกด้วย จะเห็นได้ว่ามันดาลาในยุคปัจจุบันจึงมีรูปร่างและสีสรรที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่ละบุคคลจะสร้างออกมา บางคนเชื่อว่าการแขวนภาพมันดาลาใว้ในบ้านจะเพิ่มความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัยในบ้าน


แสดง 1-11 จาก 11 รายการ